การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน

การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน
สำหรับระบบการจำแนกการใช้ที่ดินในประเทศไทยเป็นระบบที่ปรับปรุงมาจากระบบของกรมทรัพยากรธรณีประเทศสหรัฐอเมริกา (USGS) โดยได้แบ่งการจำแนกออกเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 แบ่งเป็นพื้นที่ชุมชนและสร้างสิ่งปลูกสร้าง (U) พื้นที่เกษตรกรรม (A) พื้นที่ป่าไม้ (F) พื้นที่น้ำ และพื้นที่เบ็ดเตล็ด (M)
ระดับที่ 2 จำแนกรายละเอียดพื้นที่แต่ละประเภทในระดับ 1 ตัวอย่างเช่น พื้นที่ชุมชน และสิ่งก่อสร้าง แบ่งย่อยเป็น ตัวเมืองและย่านการค้า หมู่บ้าน สถานที่ราชการ สถานีคมนาคม
ระดับที่ 3 จำแนกรายละเอียดพื้นที่แต่ละประเภทในระดับที่ 2 (สรรค์ใจ, 2550)
ตารางระบบการจำแนกการใช้ที่ดินในประเทศไทย
ระดับที่ 1
ระดับที่ 2
U  พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง(Urban and Built-up Land)
U1 ตัวเมืองและย่านการค้า (City, Commercial and Service)U2 หมู่บ้าน (Village)
U3 สถานที่ราชการและสถาบันต่างๆ (Institution)
U4 สถานีคมนาคมและขนส่ง (Transportation and Communication)
U5 ย่านอุตสาหกรรม (Industrial Land)
U6 อื่น ๆ (Others)
A  พื้นที่เกษตรกรรม(Agricultural Land)
A1 นาข้าว (Paddy Field Crop)A2 พืชไร่ (Field Crop)
A3 ไม้ยืนต้น (Perennial)
A4 ไม้ผล (Orchard)
A5 พืชสวน (Horticulture)
A6 ไร่หมุนเวียน (Swidden Cultivation)
A7 ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ (Pasture)
A8 พืชน้ำ (Aquatic Plant)
A9 สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquacultural Land)
F  พื้นที่ป่าไม้(Forest Land)
F1 ป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest)F2 ป่าผลัดใบ (Deciduous Forest)
F3 สวนป่า (Forest Plantation)
W  พื้นที่น้ำ(Water)
W1 แหล่งน้ำธรรมชาติ (Natural Water Bodies)W2 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น (Reservoirs)
M  พื้นที่เบ็ดเตล็ด(Miscellaneous)
M1 ทุ่งหญ้าธรรมชาติ (Rangeland)M2 พื้นที่ลุ่ม (Wetland)
M3 เหมืองแร่ บ่อขุด (Mine, Pit)
M4 อื่นๆ (Others)
ที่มา: สรรค์ใจ กลิ่นดาว (2550)

ลักษณะการใช้ที่ดินทางผังเมืองมีการแบ่งออกเป็นหมวดต่างๆ ที่สำคัญ  4 หมวด
1. การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย
การใช้ที่ดินในเขตชุมชนเมืองมักเป็นที่ดินประเภทเพื่อการอยู่อาศัยมากที่สุด มีการกระจายตัวอยู่ทั่วไป  บริเวณใจกลางเมืองมักเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก  บริเวณถัดออกมาจากใจกลางเมืองไปถึงชานเมืองมักเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อยโดยพิจารณาจากความหนาแน่นและระดับรายได้ของประชากรในเมือง เขตใจกลางเมืองมักเป็นที่อยู่อาศัยที่มีสภาพแออัด เสื่อมโทรม เป็นที่อยู่ของผู้มีรายได้น้อย ลักษณะอาคารเป็นอาคารพาณิชย์ บ้านแถว ตึกแถว  บริเวณถัดออกมาจากใจกลางเมืองถึงชานเมืองเป็นที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นเบาบางมากกว่าโดยมากเป็นบ้านเดี่ยวมักเป็นเขตที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้ปานกลางและผู้มีรายได้สูงเนื่องจากต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า และสามารถเดินทางเข้ามาทำงานในเขตใจกลางเมืองได้การใช้ที่ดินประเภทนี้โดยทั่วไปมักมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 40-50 ของพื้นที่ชุมชนเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยแบ่งเป็น ดังนี้
1.1 ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก  หรือพานิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มักอยู่บริเวณศูนย์กลางเมือง (City Core) ที่ประกอบไปด้วยอาคารสำนักงาน  ร้านค้าและพักอาศัย  อาคารสูงเพื่อการพักอาศัย เช่น อาคารชุดพักอาศัย อพาร์ทเมนต์ เนื่องจากการใช้ที่ดินประเภทนี้มีความหนาแน่นสูงย่านใจกลางเมือง  พื้นที่เว้นว่างหรือพื้นที่สีเขียวมีน้อยมากราคาที่ดินมีราคาแพง โดยมากพื้นที่ว่างมักเป็นบริเวณพื้นที่ทางเท้า  บริเวณหัวมุม  จุดตัดถนน  พื้นที่เว้นว่างด้านหน้าอาคาร  ระยะถอยร่นจากแนวสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และพื้นที่สาธารณะประโยชน์ต่างๆ
1.2 ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง  การใช้ที่ดินมักเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเรือน ได้แก่  บ้านเดี่ยว  บ้านแฝด  บ้านแถว  หอพัก  อาคารชุด  ความสูงไม่ควรเกิน  5 ชั้น  อยู่ในบริเวณที่สภาพแวดล้อมและทิศทางลมที่ดี
1.3. ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย  มีการใช้ที่ดินเป็นอยู่อาศัยเบาบาง  มักเป็นบ้านเดี่ยว  บ้านแฝด เป็นส่วนใหญ่ ความสูงประมาณ 1-2 ชั้น  ควรตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทและควรอยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรมอย่างน้อย  1.5 – 3.0 กิโลเมตร  การใช้ที่ดินประเภทนี้ทำให้เกิดพื้นที่เว้นว่างอยู่แล้วในบริเวณบ้านพักอาศัย
1.4 ที่ดินอนุรักษ์เพื่อการอยู่อาศัย การใช้ที่ดินประเภทนี้มัก มีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินไปเป็นอย่างอื่น หรือเป็นการเคารพต่อสถานที่สำคัญ เช่น ศาสน-สถานอันศักดิ์สิทธิ์ มักถูกกำหนดให้มีการใช้ที่ดินเพื่อสร้างบ้านพักอาศัยเท่านั้น  โดยมากกำหนดความสูงของอาคารประมาณ 1-2 ชั้น  มักเป็นพื้นที่บริเวณเมืองเก่า  หรือโดยรอบด้านใดด้านหนึ่งของสถาน
2. การใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการทำงานและประกอบอาชีพ
การใช้ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม  เป็นการใช้ที่ดินประเภทนี้ได้แก่ร้านค้าต่างๆ  รวมถึงการบริการต่างๆ ด้วย  การใช้ที่ดินประเภทนี้มักตั้งอยู่ย่านใจกลางเมือง  มีการเกาะกลุ่มกันเป็นย่านการค้า เนื่องจากมีการได้ประโยชน์ร่วมกันของกิจกรรมจากการรวมกลุ่มกัน  และมักมีที่ตั้งกระจายตัวไปตามแนวถนนสายสำคัญ  หรือเป็นกลุ่มร้านค้าเล็กๆ ที่ปะปนอยู่กับย่านที่อยู่อาศัย  การใช้ที่ดินประเภทนี้จัดเป็นลักษณะเด่นของการใช้ประโยชน์ที่ดินในเมือง  เป็นบริเวณที่มีการใช้ที่ดินเข้มข้น  โดยเฉลี่ยแล้วประมาณร้อยละ 2 – 5 ของพื้นที่ชุมชนเมืองเป็นการใช้ที่ดินประเภทนี้  การใช้ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมมี 2 ประเภทหลัก ได้แก่  ย่านพาณิชยกรรมขนาดเล็ก  กระจายตัวอยู่ทั่วไป ได้แก่ ร้านค้าเบ็ดเตล็ด  ตลาดสด เป็นศูนย์กลางระดับชุมชน  และย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง (Central Business District) มักมีบริเวณกว้างขวางและมีความหนาแน่นมาก  เป็นศูนย์รวมของการค้าปลีก  อาคารสำนักงาน ซึ่งอาจเป็นย่านพาณิชยกรรมที่อยู่ศูนย์กลางเมือง  หรือบริเวณพื้นที่ชานเมืองก็ได้   เนื่องจากการใช้ที่ดินประเภทนี้อยู่บนหลักการที่มีความสะดวกในการเข้าถึงสูงสุด  มีระบบโครงข่ายถนน และบริการพื้นฐานที่ได้มาตรฐาน  สามารถเชื่อมโยงติดต่อกับบริเวณอื่นๆ ได้ดี มีความสะดวกในการการใช้ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรม หรือเขตแรงงานต่างๆการใช้ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมตามการวางและจัดทำผังเมืองรวม มีการจำแนกการใช้ที่ดินออกเป็น  3 ประเภท  ได้แก่

2.1 อุตสาหกรรมและคลังสินค้า  โดยหลักการของความปลอดภัย ไม่ควรมีโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทอยู่ในเขตผังเมืองรวม  เว้นแต่เมืองที่มีบทบาทพิเศษ  เช่น เมืองท่า  เมืองอุตสาหกรรม  แต่จะต้องปราศจากมลพิษ และจัดเป็นส่วนบริเวณโรงงานกับบริเวณที่พักอาศัยให้เหมาะสม  ถูกต้องกับหลักทิศทางลม  และมีพื้นที่สีเขียวแนวกันชน (Green Buffer) เป็นแนวป้องกัน และแบ่งแยกการใช้พื้นที่กับการใช้ที่ดินประเภทอื่น

2.2 อุตสาหกรรมเฉพาะกิจ  เป็นอุตสาหกรรมที่ประกอบกิจกรรมเฉพาะอย่างของชุมชน อันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่นั้น หรืออุตสาหกรรมที่จำเป็นของชุมชนเมือง  และอุตสาหกรรมในครัวเรือน โดยควรมีการรวมกิจกรรมเหล่านี้ไว้เป็นกลุ่มเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย  คำนึงถึงระยะทางในการเข้ามาใช้บริการของคนในชุมชน  ตลอดจนเรื่องของมลภาวะต่างๆ  ในการวางผังเมืองการใช้ที่ดินประเภทนี้ ควรตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่แนวกันชน (Buffer) หรือพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม หรืออยู่ชิดพื้นที่รองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต แต่ไม่ควรอยู่ในบริเวณที่พักอาศัย
2.3 คลังสินค้า  เป็นบริเวณคลังเก็บสินค้า หรือโกดัง  มักเป็นการใช้ที่ดินก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่  เพื่อจัดเก็บสินค้าเป็นจำนวนมาก  รวมถึงการใช้พื้นที่เป็นลานโล่ง  เพื่อจัดวางตู้เก็บสินค้า (Container) แต่ไม่รวมถึงคลังน้ำมัน การใช้ที่ดินประเภทนี้มีเฉพาะเมืองที่มีบทบาทพิเศษ เช่น เมืองท่าเรือ  เมืองศูนย์กลางการขนส่ง  เป็นต้น
3.การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอนุรักษ์และพักผ่อนหย่อนใจ
การใช้ที่ดินประเภทนี้ตามการวางและจัดทำผังเมืองรวม มีการจำแนกการใช้ที่ดินออกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่
3.1 ประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การใช้ที่ดินประเภทนี้มีแนวคิดในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของชุมชนเมืองโดยตรง เพื่อให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี  มีอากาศบริสุทธิ์ มีที่พักผ่อนหย่อนใจ  ออกกำลังกาย และคุณภาพชีวิตที่ดี  ที่ดินประเภทนี้ประกอบไปด้วย ที่โล่งสีเขียว  สนามหญ้า  สวนสาธารณะ  สนามกีฬา สวนป่า  แนวที่โล่งสีเขียวริมน้ำ ลำคลอง  ริ้วแนวทางเดินสีเขียวริมถนน  เป็นต้น  ซึ่งเป็นการดึงความเป็นธรรมชาติและอากาศดีเข้าสู่ใจกลางเมืองและเขตที่อยู่อาศัยของเมือง  ตามหลักการวางผังเมืองมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดแนวที่โล่งริมน้ำ ได้แก่ ที่สาธารณะ หรือที่ดินเอกชนริมฝั่งแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ให้มีแนวถอยร่นอาคารตลอดแนวไม่น้อยกว่า  6.00 เมตร  การก่อสร้างอาคารทุกประเภท ริมถนนฝั่งตรงข้ามแนวถอยร่นริมแม่น้ำ สูงไม่เกิน  6.00 เมตร จากระดับถนน  แนวที่โล่งดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ  รักษาสภาพแวดล้อม  ให้เป็นระเบียบสวยงาม  เสริมสร้างบรรยากาศร่มรื่นให้ชุมชนเมือง  เป็นแนวที่โล่งที่สะดวกแก่การพัฒนา  การขุดลอกของเครื่องจักร  เป็นแนวป้องกันการรุกล้ำที่สาธารณะ และห้ามปลูกสร้างอาคาร  เป็นแนวทางเดินเชื่อมโยง ติดต่อซึ่งกันและกันในชุมชน
3.2 ประเภทชนบทและเกษตรกรรม  การใช้ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมตามผังเมืองรวม มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้พื้นที่เกษตรกรรมเป็นพื้นที่สีเขียว (Buffer Zone) ของชุมชนเมือง  ตามแนวความคิดป่าล้อมเมือง  หรือเมืองในชนบท  เพื่อป้องกันการขยายตัวของเมือง  การป้องกันชุมชนเมืองจากมลพิษภายนอกเขตผังเมืองรวม  ช่วยฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ และเพื่อเป็นพื้นที่ชนบทของเมือง  ที่ประกอบไปด้วย  สวน  ไร่นา  ป่าไม้  เป็น
3.3 ประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม  การสงวนอาชีพ ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ในบริเวณพื้นที่นั้น  เพื่อให้มีสภาพที่ดีมั่นคงต่อไป  โดยมากมักเป็นพื้นที่บริเวณที่มีสมรรถนะดินดีเหมาะแก่การเกษตรกรรม  พื้นที่ในโครงการตามแนวพระราชดำริ  พื้นที่ที่ถูกกำหนดขึ้นตามนโยบายของรัฐบางและหน่วยงานท้องถิ่น
3.4 ประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย  การใช้ที่ดินประเภทนี้ถือเป็นหลักสากลในการที่จะต้องอนุรักษ์แหล่งกำเนิดทางโบราณคดี  ศิลปะ และวัฒนธรรม  เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า  และพัฒนาในเชิงอนุรักษ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมากมักเป็นพื้นที่ที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้ ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2504  เช่น บริเวณโดยรอบกำแพงเมือง  คูเมือง  พื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์  โบราณคดี ศิลปกรรม  และสถาปัตยกรรม  รวมทั้งบริเวณที่รัฐบาลและท้องถิ่นมีนโยบายในการอนุรักษ์ เพื่อส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมอันดีงาม  ซึ่งอาจเป็นพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนก็ได้
3.5  ที่โล่งเพื่อนันทนาการและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการประมง  การใช้ที่ดินประเภทนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตร และการประมง  ตลอดจนเป็นพื้นที่พักผ่อนของชุมชนเมือง  การป้องกันการบุกรุกพื้นที่โดยรอบแหล่งน้ำ  รวมทั้งพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล  และส่งเสริมให้มีการใช้เป็นพื้นที่นันทนาการ และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมือง  และสามารถใช้ในการประมงได้ด้วย

4. การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการบริการสาธารณะ

การใช้ที่ดินประเภทนี้ตามการวางและจัดทำผังเมืองรวม แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่
4.1 สถาบันราชการ  การใช้ที่ดินประเภทนี้เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ  ประกอบด้วยศูนย์บริการและที่ทำการของรัฐบาลต่างๆ  เช่น การประปา  ไฟฟ้า  โทรศัพท์  โรงพยาบาล  สถานีอนามัย  และที่สาธารณะประโยชน์  เป็นต้น  โดยส่วนใหญ่สถานที่เหล่านี้มักเป็นที่ตั้งของอาคารที่ทำการ  การจะขยายกิจการใดของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจมักจะใช้ที่ดินของรัฐหรือที่ดินสาธารณะประโยชน์เท่านั้น
4.2 สถาบันศาสนา ได้แก่  พื้นที่วัด  มัสยิด  โบสถ์คริสต์  โบสถ์พราหมณ์  สุสาน
ฌาปนสถาน   ป่าช้า เป็นต้น  ทั้งนี้ไม่รวมที่ธรณีสงฆ์นอกเขตวัด  เป็นพื้นที่สำหรับเป็นที่พบปะของประชาชนในศาสนานั้นๆ  เพื่อเข้ามาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา  การประกอบกิจกรรมประเพณีทางศาสนาร่วมกันของประชาชน  การใช้ที่ดินประเภทนี้มักมีมาแต่เดิม  และมีที่ตั้งอยู่ร่วมกับชุมชนต่างๆ  ในเมือง  เป็นศูนย์กลางในการพบปะของคนในชุมชน
4.3  สถาบันการศึกษา เป็นการใช้ที่ดินที่เกี่ยวกับการศึกษา  ประกอบด้วย ห้องสมุด  มหาวิทยาลัย  สถาบันการศึกษา  วิทยาลัย  โรงเรียนมัธยม  โรงเรียนประถม  โรงเรียนอนุบาล  สถานรับเลี้ยงเด็ก  เป็นต้น
4.4 การสาธารณูปโภค  การใช้ที่ดินประเภทการสาธารณูปโภค  หมายถึง  พื้นที่ เส้นท่อ อาคาร หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อชุมชน  เช่น ระบบการคมนาคมขนส่ง  การพลังงาน  ระบบการประปา  ระบบระบายน้ำ  ระบบบำบัดน้ำเสีย  ระบบกำจัดขยะมูลฝอยและของเสียอื่นๆ บริเวณควบคุมน้ำท่วม และการระบายน้ำของเมือง  เป็นต้น  โดยระบบเหล่านี้มักจะถูกวางให้สอดคล้องกับระบบการใช้ที่ดินของชุมชนเมือง  และการเชื่อมโยงถึงกันเป็นโครงข่ายต่อเนื่อง  เพื่อให้เป็นระบบและครบวงจร

ที่มา  hthttps://cwphidden.wordpress.com/project/บทที่-2/การใช้ประโยชน์ที่ดิน/
ps://cwphidden.wordpress.com/project/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน

แนวคิดเบื้องต้นการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน (BASIC LAND-USE PLANNING)

นิยามและความสำคัญของทรัพยากรที่ดิน

Capture + รายชื่อผู้จัดทำ

วิดีโอความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการทำแผนที่การใช้ที่ดิน