บทความ

Capture + รายชื่อผู้จัดทำ

รูปภาพ
นายณัฐวุฒิ  ธงชัย   58670073  กลุ่ม 3302 week 1-11 https://docs.google.com/uc?export=download&id=1pIpGKzZDWe6YlXMCxzrVT2IF4ndyK5Zd นายสรวิชญ์  สุขยวง  58670098  กลุ่ม  3302 week 1-11 https://docs.google.com/uc?export=download&id=1gbbdwqqUAtYvUcUiQ1891v9S3vs00Fgo นายกรเกษม  ธนโชติโชติการ  58670162  กลุ่ม  3302 week 1-11 https://docs.google.com/uc?export=download&id=1HETgenFESD3uDZWvF0XBYi_Ia5vftwHB เสนอ อาจารย์กฤษณะ อิ่มสวาสดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ ขอบคุณที่รับชมครับ

นิยามและความสำคัญของทรัพยากรที่ดิน

รูปภาพ
นิยามและความสำคัญของทรัพยากรที่ดิน ที่ดิน  (Land)                        ดุสิต (2530)   ที่ดิน หมายถึง ส่วนประกอบต่างๆ ทางกายภาพของสิ่งแวดล้อม ( physical environment)  ทั้งหมดของพื้นแผ่นดิน ซึ่งประกอบด้วย บรรยากาศที่อยู่เหนือพื้นดิน ( atmosphere)  ดิน ( soils)  น้ำ ( water)  หิน ( rocks)  สภาพภูมิประเทศ ( topography)  พืชและสัตว์ ( plants and animals)  และผลของการกระทำของมนุษย์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ( past and present human activity)  ส่วนประกอบเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต                       FAO (1993)   ที่ดิน หมายถึง พื้นที่หนึ่งๆ ที่อยู่บนพื้นผิวของโลก ประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ คือ สภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและชีวภาพซึ่งมีอิทธิพลต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดังนั้นที่ดินจึงไม่ได้หมายถึงดินเพียงอย่างเดียวแต่จะหมายรวมถึงลักษณะภูมิสัณฐาน ( landforms)  ภูมิอากาศ ( climate)  อุทกวิทยา ( hydrology)  พืชพรรณ ( vegetation)  และสัตว์ ( fauna)  ซึ่งการปรับปรุงที่ดิน ( land improvement)  ได้แก่ การทำขั้นบันไดและการระบายน้ำ เป็นต้น

แนวคิดเบื้องต้นการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน (BASIC LAND-USE PLANNING)

รูปภาพ
แนวคิดเบื้องต้นการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ( BASIC LAND-USE PLANNING) “ ที่ดินเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด บนท่ามกลางความต้องการการใช้ประโยชน์กิจกรรมบนที่ดินที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด” แนวคิดการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินจำแนกอธิบายในรายละเอียดได้เป็น  4  ประเด็น ได้แก่  1)  นิยามการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน  2)  ระดับการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน  3)  กระบวนการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน และ  4)  เครื่องมือควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน 1)  นิยามการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นกระบวนการประเมินอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับศักยภาพและทางเลือกในการใช้ประโยชน์ของที่ดินให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมและเศรษฐกิจในรูปแบบลักษณะต่างๆ เพื่อทำการเลือกหนึ่งในรูปแบบเหล่านั้นจากกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม และสามารถดำเนินการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ตอบสนองต่อความต้องการที่จำเป็นของสมาชิกในสังคมร่วมกัน ตลอดจนการดูแลรักษาทรัพยากรภายในพื้นที่สำหรับอนาคต 2)  ระดับการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยทั่วไปแบ่งระดับการวางแผนไว้  3  ระดับ ได้แก่  1) 

การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน

รูปภาพ
การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน สำหรับระบบการจำแนกการใช้ที่ดินในประเทศไทยเป็นระบบที่ปรับปรุงมาจากระบบของกรมทรัพยากรธรณีประเทศสหรัฐอเมริกา ( USGS)  โดยได้แบ่งการจำแนกออกเป็น  3  ระดับ คือ ระดับที่  1   แบ่งเป็นพื้นที่ชุมชนและสร้างสิ่งปลูกสร้าง ( U)  พื้นที่เกษตรกรรม ( A)  พื้นที่ป่าไม้ ( F)  พื้นที่น้ำ   และพื้นที่เบ็ดเตล็ด ( M) ระดับที่  2   จำแนกรายละเอียดพื้นที่แต่ละประเภทในระดับ  1  ตัวอย่างเช่น พื้นที่ชุมชน และสิ่งก่อสร้าง แบ่งย่อยเป็น ตัวเมืองและย่านการค้า หมู่บ้าน สถานที่ราชการ สถานีคมนาคม ระดับที่  3   จำแนกรายละเอียดพื้นที่แต่ละประเภทในระดับที่  2 ( สรรค์ใจ , 2550) ตารางระบบการจำแนกการใช้ที่ดินในประเทศไทย ระดับที่  1 ระดับที่  2 U   พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง( Urban and Built-up Land) U1  ตัวเมืองและย่านการค้า ( City, Commercial and Service)U2  หมู่บ้าน ( Village) U3  สถานที่ราชการและสถาบันต่างๆ ( Institution) U4  สถานีคมนาคมและขนส่ง ( Transportation and Communication) U5  ย่านอุตสาหกรรม ( Industrial Land) U6  อื่น ๆ ( Others) A   พื้นที่เกษตรกรร